|
|
เทคโนโลยีของสีกันเพรียง (Technology of Antifouling paint) | |
เรื่อง เทคโนโลยีของสีกันเพรียง (Technology of Antifouling paint)
๑.บทนำ
ในการคมนาคมทางน้ำ ความจำเป็นที่ต้องป้องกันผิวเรือไม่ให้เกิดความสกปรก เป็นสิ่งที่ต้องตระหนักเนื่องจาก มีผลต่อประสิทธิภาพการเดินเรือและสิ่งแวดล้อม ปัญหาสำคัญหากผิวเรือถูกเกาะด้วยเพรียงคือ อัตราการใช้น้ำมันที่สูงขึ้น และมีปัญหาการผุกร่อนเกิดขึ้นได้ หากมองในสภาพแวดล้อมของโลกจะส่งผลทำให้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศโลกมากขึ้นซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิงที่มากขึ้น การป้องกันหรือลดการเจริญเติบโตของเพรียงที่ผิวเรือ ซึ่งรวมถึงความสกปรกที่เกิดขึ้นจากการเกาะของสิ่งมีชีวิตในทะเล (Antifouing) สามารถใช้วิธีทาหรือพ่นด้วยสีกันเพรียง เนื่องจากสีกันเพรียงมีสารฆ่าสิ่งมีชีวิต (biocide) ผสมอยู่ซึ่งสารนี้จะถูกปลดปล่อยตลอดช่วงเวลาขณะที่ผิวเรือสัมผัสกับน้ำ แม้ชั้นของสีเป็นฟิล์มบางที่เคลือบผิวเรือจะหนาเพียงในระดับไมโครเมตรเท่านั้น แต่มีความเข้มข้นมากพอที่จะป้องกันการเกาะยึดของเพรียงได้ (settlement of juvenile fouling organisms) ด้วยเหตุที่สิ่งมีชีวิต (marine organisms) ที่สามารถทำให้เกิดความสกปรกแก่ตัวเรือในทะเลมีกว่า 4,000 ชนิดทั้งพืชและสัตว์ สารฆ่าสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในฟลิ์มสีจงต้องออกฤทธิ์ที่กว้างและครอบคลุมความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น แต่เนื่องจากสีทาเรือในห้วงทศวรรษที่ผ่านมาประสบกับปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอันจากการใช้สารประเภท Tributyltin (TBT) ด้วยเหตุนี้สีกันเพรียงในปัจจุบัน จึงจะต้องผลิตและพัฒนาด้วยความตระหนักมากยิ่งขึ้นต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมในทะเล เทคโนโลยีของสีกันเพรียงจึงได้พัฒนาอย่างไม่ หยุดยั้ง เพราะเป็นสิ่งท้าทายซึ่งมีนัยสำคัญของอุตสาหกรรมสารเคลือบผิว บทความเรื่องที่เขียนและรวบรวมขึ้นนี้ จึงได้กล่าวถึง ความสกปรกของเรือที่เกิดจากเพรียง ระบบของสีกันเพรียงซึ่งได้พัฒนาขึ้น ผลกระทบจากการใช้สีกันเพรียงต่อสิ่งแวดล้อม และขีดความสามารถของกองวิเคราะห์และทดสอบ กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ ในการวิเคราะห์ ทดสอบ คุณลักษณะของสีทาเรือให้ทันกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิเคราะห์สีกันเพรียงชนิดหนึ่งคือ ประเภทขัดตัวเองได้ (Self Polishing Copolymer, SPC -antifouling paints)
รูปที่ 1-3 แสดงการยึดเกาะของเพรียงและคราบสกปรกบนชิ้นส่วนอุปกรณ์ของเรือ
2.ความสกปรก (Fouling) สิ่งมีชีวิตอย่างเช่น เพรียง (barnacles), หอยแมลงภู่ ( mussels) , ฟองน้ำ (sponges), สาหร่าย ( algae ) และ sea squirts ที่เกาะกันเองอย่างแน่นหนากับลำเรือ ทำให้เกิดคราบสกปรกขึ้น แสดงดังรูปที่ 4-9
รูปที่ 4-9 แสดงสิ่งมีชีวิตในทะเลซึ่งสามารถทำให้เกิดความสกปรกที่ผิวเรือ ( Fouling )ได้
Fouling คือ ผลของการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตในทะเลบนพื้นผิวของเรือซึ่งอยู่ใต้แนวน้ำด้านนอกของผิวเรือ (Hull)ที่ก่อให้เกิดความสกปรก ความสกปรกที่เกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิต (Biological fouling) นี้ เป็นปัญหาที่พบทั่วไปของพื้นผิวของเรือที่สัมผัสกับน้ำ โดยเฉพาะเรือที่จอดประจำที่ ความสกปรกดังกล่าวไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อปัญหาการผุกร่อน การทำลายวัสดุและสิ่งอุปกรณ์อีกด้วย
3. สีกันเพรียง (Antifouling paint) โดยทั่วไปสามารถแบ่งประเภทของสีกันเพรียงอย่างคร่าว ๆ เป็นสองประเภทคือ ประเภทแรก เป็นระบบสีที่ทำให้ผิวลื่นและเรียบ ซึ่งสิ่งสกปรกและเพรียงต่าง ๆ ไม่สามารถเกาะได้ที่ผิวเรือ และประเภทที่สองคือระบบสีกันเพรียงที่มีส่วนผสมของสารฆ่าสิ่งมีชีวิตผสมอยู่ด้วย และการออกฤทธิ์ในห้วงเวลาสั้น ๆ และสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ แต่หากพิจารณาถึงความแตกต่างของชนิด binder และสารฆ่าสิ่งมีชีวิตได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ใช้งานได้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดสีกันเพรียงระบบต่างกันอีกหลายระบบ ดังจะกล่าวต่อไปนี้
3.1 ระบบของสีกันเพรียง 3.1.1 Self Polishing Copolymer, SPC : เป็นระบบสีกันเพรียงที่มีประสิทธิภาพการป้องกันสูงสุด การทำงานสม่ำเสมอ ปล่อยสาร Biocide คงที่ ตลอดเวลาอายุการใช้งานมากกว่า 60 เดือน อัตราการขัดตัวเอง (Self Polishing) เป็นไปอย่างช้า ๆ ตามสภาพการใช้งาน (ความเร็วของเรือ) ผิวที่ทาเคลือบมีลักษณะเนียนตลอดเท่า ๆ กัน และไม่มีปัญหาสีพอก ประกอบด้วย เรซินสบู่ของเกลือโลหะ เตรียมได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างสารประกอบที่มีประจุบวกอย่างน้อยบวกสองกับกรดไขมันไม่อิ่มตัวหรืออาจส่วนผสมระหว่างกรดไขมันอิ่มตัวกับกรดอินทรีย์อิ่มตัว 3.1.2 Hybrid SPC/Controlled Depletion Polymer (CPD) : เป็นระบบสีที่มีการขัดตัวเองและการปล่อยสารป้องกันเพรียงสม่ำเสมอ สามารถกำหนดความหนาของชั้นสีตามสภาพใช้งานและระยะเวลา พื้นผิวทนทานต่อสภาพ แวดล้อม ปริมาตรเนื้อสีมาก ราคาประหยัด 3.1.3 Contact Leaching (CL): เป็นระบบสีกันเพรียงการขัดตัวเองเป็นไปอย่างช้า ๆ อายุการใช้งานไม่เกิน 36 เดือน ความหนาของฟิล์มสีขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ต้องการใช้งาน มีความทนทานสูง มีปริมาตรเนื้อสีสูง คลอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า 3.1.4 Foul Release Technology (FR): ไม่มีสารประเภทโลหะส่วนผสม ใช้โครงสร้างของซิลิคอนไม่มีการขัดตัวเอง ทนทานต่อแรงกระทบของน้ำ มีความยืดหยุ่นสูง และมีปริมาตรเนื้อสีสูง
3.2. องค์ประกอบของสีกันเพรียง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วน ตัวอย่างองค์ประกอบ แสดงดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ส่วนประกอบของสีกันเพรียง
|
ส่วนประกอบ
|
ตัวอย่างของสีกันเพรียง
|
ปริมาณร้อยละ
|
1.Binder
|
Resin
|
25
|
2.Pigments
|
Cu2O/ZnO
|
35/5
|
3.Additives
|
Bentone#34
|
1.5
|
4.Extenders
|
Talc/ CaCO3
|
10/5
|
5.Solvents
|
Xylene
|
20
|
องค์ประกอบของสีแยกตามระบบ หรือตามการพัฒนา สามารถแบ่งได้คือ 3.2.1 ระบบ Conventional, Soluble matric-tpye antifouling : สีประเภทนี้ส่วนประกอบที่เป็น binder เช่น Colophonium สามารถละลายในน้ำได้ และสารฆ่าสิ่งมีชีวิต (biocide) เช่น คิวปรัสออกไซด์ (Cu2O)จะถูกปล่อยออกมา ซึ่งสีประเภทนี้อาจมีสารประกอบของดีบุกอินทรีย์ (Organotin) ปนมาด้วยก็ได้ อายุการใช้งานประมาณ 12 เดือน สีประเภทนี้ง่ายต่อการหักและแตกเป็นเกล้ด (Cracking and flaking) เมื่อทาสีบนพื้นผิวแล้วจำเป็นที่ต้องนำพื้นผิวสัมผัสน้ำโดยเร็ว สีเหล่านี้เป็นสีที่ใช้กันทั่วไปในห้วงทศวรรษที่ผ่านมาแม้ว่าจะยากต่อการควบคุมอัตราการปลดปล่อยของสารฆ่าสิ่งมีชีวิต (biocides) จากเมตริกซ์สารที่เป็น เรซินที่มีระดับของการชะล้างคงที่ (constant leaching level) 3.2.2 ระบบ Long Life, insoluble matrix-type antifouling : มีส่วนผสมของ binder เป็นสารจำพวก ไวนิล และอะคริลลิค/โรซิน (Acryllic/Rosin, CR)และอาจมี Colophonium ผสมอยู่ในปริมาณเล็กน้อย และสารฆ่าสิ่งมีชีวิต (biocide) เช่น สารประกอบของทองแดงกว่าร้อยละ 70 อาจมีสารประกอบของดีบุกอินทรีย์ อายุการใช้งานประมาณ 12-24 เดือน ซึ่งบ่อยครั้งเรียกว่า Long Life Antifouling 3.2.3 ระบบ Self Polishing antifouling: มีส่วนผสมของโคพอลิเมอร์ ได้แก่การผสมเรซินซึ่งมีสมบัติออกฤทธิ์ต่อสิ่งมีชีวิตกับสารออกฤทธิ์สำคัญอื่นๆ เป็นระบบของสารโพลิเมอร์ผสมที่มีพันธะทางเคมีตลอดทั่วทั้งเนื้อสาร ที่อาจมีหรือไม่มีส่วนผสมของสารพิษ (toxin) เช่น สารประกอบดีบุกอินทรีย์ ซึ่งดีบุกเป็นส่วนประกอบในสารพอลิเมอร์ ชนิด polyacrylates ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย ด้วยคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมและสมบัติที่สามารถขัดตัวเองได้ (self-polishing properties) การออกฤทธิ์ที่กว้างใช้เป็นสารฆ่าเชื้อรา แบคทีเรีย และสารฆ่าแมลงในอุตสาหกรรมทอผ้า กระดาษ หนังและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย มีการออกฤทธิ์ที่แรงและนานกว่าสีทาเรือที่ใช้สารอื่น ๆ เช่น สารประกอบของปรอทและทองแดง อย่างไรก็ตาม สารดีบุกอินทรีย์ได้ถูกจำกัดการใช้ตามกฏหมาย เพราะความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่สูง สารประกอบของดีบุกที่อยู่ในรูปของสารอินทรีย์จะมีความเป็นพิษที่มากกว่ารูปสารอนินทรีย์ เนื่องจากสามารถผ่านเข้าสู่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้ดีกว่า และเส้นทางเริ่มแรกของสารประกอบดีบุกอินทรีย์มักจะอยู่ในตะกอนหนักและสามารถเข้าสู่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้มากกว่าสารดีบุกอินทรีย์ที่ละลายในน้ำ สารประกอบของทองแดงซี่งมีพิษน้อยกว่าจึงเป็นสารพิษเติมแต่งในสีกันเพรียงมาจนถึงปัจจุบัน สารประกอบของทองแดงที่ใช้กันได้แก่ Copper(I) Oxide, Copper(I) thiocyanate, Copper metals powder, copper bronze (Cu+Sn alloy), copper napthenate, copper resinate (Copper hydroxide + Rosin) และ Copper (I) sulphite ซึ่งสีกันเพรียงโดยทั่วไปจะมีสารประกอบของทองแดงไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ซึ่งจะทำให้เกิดสีน้ำตาลเข้มหรือสีแดงเข้ม ระบบของสีกันเพรียงที่พัฒนามาถึงปัจจุบันอีกชนิดหนึ่งคือ การใช้ copper acrylate เป็น cross-linking agent ในพอลิเมอร์ผสม การทาสีที่ผิวเรือด้วย สีประเภท Self Polishing antifouling นี้จะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซีสกับน้ำทะเลเป็นผลทำให้มีการปลดปล่อยสารฆ่าสิ่งมีชีวิต เช่นเพรียงอย่างช้า ๆ สีที่เคลือบบนพื้นผิวเรือด้วยแรงยึดเชิงกลอย่างอ่อนที่คงเหลืออยู่จะ ค่อย ๆ หลุดลอกออกด้วยน้ำทะเล (ดังรูปที่ 10) เป็นผลทำให้มีพื้นผิวของโพลิเมอร์ที่ใหม่อยู่เสมอ ผิวเรียบมากกว่าการทาสีกันเพรียงประเภทอื่น กระบวนการเกิดไฮโดรไลซีสและการหลุดลอกจะเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าไม่มีสีที่ผิวเรือที่ทา และสาร biocide ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ได้นานถึงประมาณ 5 ปีขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นฟิล์มสีที่ทาหรือเคลือบ แผนผังแสดงถึงการปลดปล่อยของสารฆ่าสื่งมีชีวิตของระบบสีกันเพรียงแบบ Conventional-Free association paint และ Copolymer Paint แสดงดังรูปที่ 10
รูปที่ 10 แสดงการปลดปล่อยของสารฆ่าสื่งมีชีวิตของระบบสีกันเพรียงแบบ Conventional-Free association paint และ Copolymer Paint (ภาพประกอบได้จาก Bennett, R.F. 1996. Industrial manufacture and applications of tributyltin compounds. In: Tributyltin: Case Study of an Environmental Contaminant, editor S.J. de Mora. Cambridge University Press, Cambridge, 21 - 61 pp.)
3.2.4 Ablasive antifouling : ระบบสีชนิดนี้ให้ฟิล์มที่บาง ป้องกันการผุกร่อน และกันเพรียงได้ สีกันเพรียงหากแยกตามการพัฒนาระบบของสีกันเพรียง สามารถแสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 การพัฒนาระบบของสีกันเพรียง
|
Events
|
Type
|
Type of Binder
|
Type O f Biocide
|
Before 1950
|
Conventional
|
Rosin
|
Cu2O
|
1950-1960
|
Long Life A/F
|
Rosin/Vinyl, Rosin/CR
|
Cu2O
|
Late 1960
|
Long Life A/F
|
Rosin/Vinyl, Rosin/CR
|
Cu2O/TBTO
|
Mid 1970
|
Self Polishing
|
TBT-copolymer, Low built
|
Cu2O/TBTO
|
1983
|
Self Polishing
|
TBT-copolymer, High built
|
Cu2O/TBTO
|
1985
|
Self Polishing
|
TBT-copolymer Low-Tin
|
Cu2O/TBTO
|
1987
|
Ablasive
|
Copolymer
|
Cu2O/TBTO Biocide
|
1991
|
Self Polishing
|
Copolymer
|
Cu2O/Organic Biocide
|
4. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสีกันเพรียงชนิดมีส่วนผสมของสารดีบุกอินทรีย์
จากการตรวจพบสารประกอบอินทรีย์ดีบุกชนิด Butyltin ได้แก่ Tributyltin (TBT), dibutyltin (DBT) และ monobutyltin (MBT) ในตับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยในทะเลแทบทุกชนิดทั่วทุกแถบทะเล เป็นสิ่งชี้ให้เห็นว่ามีการกระจายของสารประกอบดีบุกอินทรีย์ทุกมหาสมุทร แต่ตรวจพบความเข้มข้นของ TBT ในทะเลชายฝั่งของประเทศกำลังพัฒนามากกว่าแหล่งทะเลอื่น ๆ สาร TBT นี้ค่อนข้างมีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผลจากการใช้สีกันเพรียงประเภทที่มีองค์ประกอบของ TBT-SPC ส่งผลทำให้พบปริมาณสารประกอบของดีบุกในน้ำ ตะกอนหนัก ซึ่งผลต่อการเพาะเลี้ยงหอยนางรม ( cultivated oysters ) และจำนวนประชากรของ Nucella lapillus มีลักษณะความผิดปกติทางเพศที่เรียกว่า imposex (สารประกอบอินทรีย์ของดีบุกสามารถเหนี่ยวนำให้หอยเพศเมียเป็นหอยมีลักษณะของเพศผู้มากยิ่งขึ้น) คือมีการพัฒนาการสร้างองคชาต และท่อนำสเปริ์มในหอยเพศเมีย ซึ่งจะปิดกลั้นทางเดินท่อนำไข่ ทำให้ไม่สามารถวางไข่ได้ ซึ่งส่งต่อจำนวนประชากรของหอย และนอกจากนี้หอยยังลดกิจกรรมการขยายพันธุ์ในบางกรณีอีกด้วย เพราะเหตุนี้การเดินเรือน้ำตื้น (ระวางน้ำลึกน้อยกว่า 25 เมตร) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1989 จึงมีข้อห้ามการใช้สี TBT-SPC ในทั่วทั้งสหภาพยุโรปรวมถึงสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ในปี ค.ศ 1990 สนธิสัญญาองค์การความร่วมมือทางทะเลระหว่างประเทศ และองค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล (IMO-MEPC) มีข้อแนะนำการใช้สีกันเพรียงประเภท TBT และมีข้อเรียกร้องเพื่อที่จะลดการปล่อยสาร TBT จากอู่เรือในอัตราสูงสุดไม่เกิน 4 มิลลิกรัมของสาร TBT ต่อตารางเซนติเมตรต่อวันสำหรับสีกันเพียงทุกประเภท สำหรับประเทศญี่ปุ่นได้ใช้ข้อกำหนดนี้เช่นกัน และมีผลตั้งแต่ปี ค.ศ.1992 การศึกษาในช่วงกลางศตวรรษที่ 1990 ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางเพศ (imposex)ของหอยได้ขยายไปถึงทะเลเหนือ (the North Sea) มีผลการศึกษาพบว่าสามารถตรวจพบสาร TBT ในสัตว์จำพวกนก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล และปลาบางชนิดอีกด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของระบบการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ ซึ่งจากผลการศึกษาผลกระทบจากการใช้สารดีบุกอินทรีย์ในสีกันเพรียงต่อสิ่งแวดล้อม รัฐบาลและหน่วยงานสิ่งแวดล้อมในหลาย ๆ ประเทศจึงเรียกร้องให้กำหนดข้อห้ามการใช้เป็นสารกันเพรียงในทุกประเทศ ซึ่งที่ประชุม United Nations Rio Convention และ IMO-MEPC เห็นด้วยกับการเรียกร้องเหล่านี้ และที่ประชุมครั้งที่ 42 ของ IMO-MEPC (November 1998) ได้เสนอร่างเกี่ยวกับข้อห้ามการใช้สาร TBT และที่ประชุมครั้งต่อมาได้มีข้อเสนอที่จะห้ามมิให้มี TBT ในผลิตภัณฑ์สีทาเรืออย่างสมบูรณ์ก่อนปี ค.ศ.2008
5. ขีดความสามารถการวิเคราะห์ ทดสอบสีทาเรือ ของกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ
ด้วยเหตุที่กองทัพเรือ มุ่งมั่นพยายามที่จะแสวงหาสีทาเรือที่มีคุณภาพมาใช้งานและกำหนดเป็นมาตรฐานคุณลักษณะเฉพาะของสีทาเรือประเภทต่าง ๆ ซึ่งในการที่กองทัพเรือจะได้ให้การรับรองคุณภาพสีทาเรือเพื่อนำมาใช้ในราชการได้นั้น บริษัทสีต้องจัดส่งตัวอย่างเพื่อขอรับการรับรองคุณภาพ ซึ่งจะมีสิทธิในการเสนอราคาตามกรรมวิธีการจัดหาของ กรมพลาธิการทหารเรือ และดำเนินการวิเคราะห์ ทดสอบ ทั้งในห้องปฏิบัติการและภาคสนามของ กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ ต่อไป ทั้งนี้กองวิเคราะห์และทดสอบ (กวทส.วศ.ทร.) ซึ่งมีภารกิจการดำเนินการวิเคราะห์ ทดสอบ วัสดุสายวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ รวมถึง สีทาเรือจะเป็นหน่วยงานทดสอบตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น หรือดำเนินการวิเคราะห์ทดลองเพื่อกำหนดเป็นมาตรฐานสีทาเรือ สำหรับวิเคราะห์และทดสอบสีใต้แนวน้ำ และสีแนวน้ำชนิดกันเพรียงชนิด Self Polishing Copolymer (SPC) ซึ่งกองทัพเรือได้นำระบบสีมาใช้ แทนระบบสีไวนิล (Vinyl) เพราะความสามารถในการกันเพรียงของตัวเรือ ทำให้เรือมีความเสียดทานน้ำน้อยลง ลดความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง สะดวกในการซ่อมทำเพราะไม่ต้องขัดฟิล์มสีเดิมออกหมด และมีอายุการใช้งานนานขึ้น ทำให้กองทัพเรือประหยัดงบประมาณในการซ่อมทำสี ขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการของกองวิเคราะห์และทดสอบ ในการวิเคราะห์ ทดสอบสีทาเรือชนิดกันเพรียง แสดงดังตารางที่ 3 การวิเคราะห์และทดสอบ แสดงตามตารางข้างต้น ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ได้นำวิธีการวิเคราะห์มาตรฐานที่เกี่ยวข้องมาใช้ (เช่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, มอก.; American standard for Testing of Materials, ASTM; Federal Test Method Standard, International Standard, Military Specification, MIL-STD ประกอบกับเครื่องมืออันทันสมัย ความสามารถ ความชำนาญ และทักษะของผู้ปฏิบัติวิเคราะห์ ในการวิเคราะห์ ทดสอบ ควบคุมคุณภาพ เพื่อให้ผลวิเคราะห์ ทดสอบมีความถูกต้อง แม่นยำ เป็นที่น่าเชื่อถือ และสามารถรับรองคุณภาพของสีทาเรือชนิดกันเพรียง (รวมถึงสีทาเรือประเภท อื่น ๆ) ไว้ใช้ในราชการกองทัพเรือ
รูปที่ 11 แสดงเครื่องมือวิเคราะห์สี
ตารางที่ 3 รายการวิเคราะห์และทดสอบ
|
1.คุณลักษณะทางปริมาณของสี
|
1.1 ปริมาตรบรรจุ
|
|
1.2 ผงสี
|
1.3 สารที่ไม่ระเหย
|
1.4 สิ่งนำสีส่วนที่ไม่ระเหย
|
1.5 น้ำหนักต่อแกลลอน
|
1.6 จุดวาบไฟ
|
1.7 ความหนืด
|
1.8 ความละเอียด
|
1.9 ระยะเวลาเมื่อแห้ง (แห้งที่ผิว และแห้งแข็ง)
|
1.10 ความเงาวัดที่มุม ๖๐ องศา
|
1.11 กำลังซ่อนแสง
|
2.คุณลักษณะทางคุณภาพของสี
|
2.1 ภาวะในภาชนะบรรจุ
|
|
2.2 การยึดเกาะ ทาครบระบบ
|
2.3 ความทนต่อการดัดโค้ง
|
2.4 ความทนน้ำ
|
2.5 ความทนน้ำมัน
|
2.6 ความทนกรด/ด่าง ๑๒๐ ชั่วโมง
|
2.7 การเกิดฝาสี
|
2.8 ความทนละอองน้ำเกลือพ่นต่อเนื่อง ๑๒๐ ชั่วโมง
|
3.คุณลักษณะทางปริมาณของสี
|
3.1 เฟอร์ริกออกไซด์ (Fe2O3)
| |
|
|