หน้าแรก | ติดต่อเรา | ข่าวสาร | หน้าบทความ | ถาม-ตอบ | เกี่ยวกับเรา | ค้นหาสินค้าตามแบรนด์      
             ไทย | English    
   Product Categories
   สมาชิก
 : 
 : 
 
 สมัครสมาชิก
 ลืมรหัสผ่าน
   เว็บลิงค์


สั่งสินค้าตอนนี้
สั่งซื้อสินค้าผ่าน Shopee
สั่งซื้อสินค้าผ่าน Lazada
สั่งซื้อสินค้าผ่าน KasempongratOnline.com
อัตราค่าบริการขนส่งต่างๆ
กดไลค์เราบน Facebook เพื่อรับข่าวสารโปรโมชั่นและความรู้สีทุกวัน!

 


การลงทุนธุรกิจวัสดุก่อสร้างในประเทศลาว (สปป. ลาว)

การลงทุนธุรกิจวัสดุก่อสร้างในประเทศลาว (สปป. ลาว)


ปัจจุบันกระแสการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (Asean Economic Community) ในปี 2015 กำลังเป็นที่จับตามองในกลุ่มนัก ลงทุนต่างชาติ ซึ่งทำให้อาเซียนกลายเป็นช่องทางตลาดใหม่ที่น่าสนใจ

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว เป็นประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ในกลุ่ม CLMV ที่น่าสนใจประเทศหนึ่ง ยังคงมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจและการเมืองก็อยู่ในเกณฑ์ดี สามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนได้

  

 

สปป.ลาว ต้องเตรียมประเทศให้พร้อมรองรับ AEC ในอีก 3ปีข้างหน้านี้ เนื่องด้วยโครงข่ายคมนาคม ระบบสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐาน ต่างๆ เช่น ถนน รางรถไฟ ระบบประปา และไฟฟ้า ยังมีไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเมือง และด้วยสภาพภูมิประเทศโอบล้อมด้วยภูเขาและทรัพยากรน้ำ ทำให้สปป.ลาวพยายามผลักดันให้ประเทศนี้กลายเป็น “Battery of Asia” จึงยิ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้สปป.ลาวให้ความสำคัญกับภาคก่อสร้างมากขึ้น โดยเฉพาะเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า และโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสแก่ธุรกิจวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างของไทยที่จะบุกตลาดสปป.ลาว พร้อมกับการเติบโตของการก่อสร้างในพื้นที่

 

 

พิจารณามูลค่าการนำเข้าวัสดุก่อสร้าง1 ของ สปป.ลาว พบว่า สินค้าส่วนใหญ่มาจากไทยถึงร้อยละ 65 รองลงมาเป็นของเวียดนามและจีน ร้อย ละ 18 และ 11ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพิจารณา 5 ปีก่อนพบว่า สปป.ลาวนำเข้าวัสดุก่อสร้างจากไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10โดยมีมูลค่านำเข้าวัสดุก่อสร้างในปี2554 และ 2553 เท่ากับ 2.23 ล้าน ดอลลาร์ฯ และ 1.86 ล้านดอลลาร์ฯ ตามลำดับ 

 

ข้อมูลนี้ ชี้ให้เห็นว่าตลาดวัสดุก่อสร้างเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ผู้ประกอบการSME ไทย ไม่ควรมองข้ามความสำคัญที่จะเริ่มต้นขยายตลาด ไปยังประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงกฎระเบียบการลงทุน สิทธิประโยชน์ รูปแบบการลงทุน และปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในสปป.ลาว เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านการลงทุน 

 

 

รูปแบบ กฎระเบียบ และค่าใช้จ่ายพื้นฐานสำหรับการลงทุนในสปป.ลาว

 

การลงทุนในสปป.ลาว ประกอบด้วย งานลงทุนทั่วไป งานสัมปทาน และงานลงทุนในเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เช่น นิคมอุตสาหกรรม และเขตการผลิตเพื่อการส่งออก ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนของ สปป. ลาว (พ.ศ. 2552) กำหนดให้รูปแบบการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติสามารถทำได้2 รูปแบบ คือ 

 

     1) ธุรกิจร่วมตามสัญญา (Business Cooperation by Contract): เป็นการทำสัญญาเพื่อทำธุรกิจร่วมกันระหว่างนักลงทุนท้องถิ่น และนักลงทุนต่างชาติ โดยไม่ต้องจัดตั้งบริษัทตามกฎหมายของสปป.ลาว 

 

     2) ธุรกิจร่วมทุน (Joint Venture): นัก ลงทุนท้องถิ่นและนักลงทุนต่างชาติจัดตั้งนิติบุคคลใหม่ ภายใต้ฏหมายของสปป.ลาว และต้องมีกรรมสิทธิ์ ร่วมกัน โดยนักลงทุนต่างชาติต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน และกิจการต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำร้อยละ 30 ของเงินทุนทั้งหมด 

 

     3) ธุรกิจที่นักลงทุนต่างชาติลงทุนเองทั้งหมด (100% Foreign Owned Enterprise): รูปแบบนี้นักลงทุนต่างชาติสามารถจัดตั้งสาขาที่สปป.ลาวได้ โดยต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของเงินทุนทั้งหมด และสามารถมีผู้ร่วมทุนต่างชาติได้มากกว่า 1 ราย โดยขออนุมัติจากกรมส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนภายในและต่างประเทศ (Department for the Promotion and Management of Domestic and Foreign Investment: DDFI) 

 

การอนุมัติเงินลงทุนโครงการในกรอบวงเงิน 3-5 ล้านดอลลาร์ฯ สามารถยื่นรับสิทธิการลงทุนจากแขวงที่เข้าไปลงทุน โดยมิต้องผ่านส่วนกลาง เพื่อให้แขวงสามารถสร้างบรรยากาศเอื้ออำนวยต่อการลงทุนได้อิสระมากขึ้น ส่งผลให้ลำดับขั้นตอนติดต่อเพื่อการลงทุนกระชับขึ้น 

 

ค่าใช้จ่ายการลงทุนใน สปป.ลาว 

 

     ก่อนตัดสินใจลงทุนในสปป.ลาว ควรศึกษาตลาด และควรพิจารณาค่าใช้จ่ายในการลงทุน (ต่อเดือน) ดังนี้ 

 

     • ค่าจ้างแรงงานในเวียงจันทน์ (ดอลลาร์ฯต่อคน): แรงงานทั่วไป 166.8 วิศวกร 217.7 และผู้จัดการ 360.7

     • ค่าไฟฟ้าและน้ำสำหรับประกอบธุรกิจ: ค่าไฟฟ้า 0.063 – 0.074 ดอลลาร์ฯต่อกิโลวัตต์ และค่าน้ำ 0.062 – 0.337 ดอลลาร์ฯ ต่อลูกบาศก์เมตร 

     • ค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่ากับ 0.037 ดอลลาร์ฯต่อนาที

     • ที่เช่าอาคารสำนักงาน: เช่าในเขตนิคมอุตสาหกรรม 0.038ดอลลาร์ฯ ต่อตร.ม. และค่าเช่าอาคารสำนักงาน 15 ดอลลาร์ฯ ต่อตร.ม. และค่าเช่าโชว์รูม 30 ดอลลาร์ฯ ต่อตร.ม. 

 

รูปแบบและช่องทางการลงทุนวัสดุก่อสร้างในสปป.ลาว

 

สำหรับการลงทุนจำหน่ายวัสดุก่อสร้างในสปป.ลาว ผู้ประกอบการ SMEsควรศึกษาถึงสภาพตลาด จำนวน คู่แข่งขัน ทำเลที่ตั้ง และลักษณะ ความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้ ปัจจุบันสปป.ลาวกำลังมีความต้องการทั้งสินค้าวัตถุดิบ วัสดุก่อสร้าง และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ยกตัวอย่างเช่น โครงสร้างเหล็กรูปพรรรณ อิฐ กระเบื้อง ประตู และหน้าต่าง เนื่องด้วยอยู่ในช่วงพัฒนาประเทศ เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน ในปี 2558ทั้งทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน การค้าและการลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการก่อสร้าง เขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งสปป.ลาวเตรียมเป็นผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อขายในอาเซียน 

 

วัสดุก่อสร้างของไทยมีความได้เปรียบทางด้านคุณภาพมากกว่าของคู่แข่งในประเทศใกล้เคียง เห็นได้จากมูลค่าการนำเข้ากลุ่มสินค้าวัสดุก่อ สร้างของสปป.ลาวที่ผ่านมา และมีการพัฒนาเส้นทางขนส่งสินค้าจากชายแดนไทยสะดวกมากขึ้น 

 

อย่างไรก็ตาม การเข้าไปก่อสร้างโรงงานเพื่อผลิตวัสดุก่อสร้าง ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการถือครองที่ดิน และพื้นที่เพื่อก่อสร้างโรงงาน ทั้งผังเมืองของสปป.ลาว ยังมีการจำกัดพื้นที่เขตรักษาผืนป่า นอกจากนี้ยังต้องใช้เงินลงทุนสูงสำหรับค่าเช่าที่ดินและค่าก่อสร้าง 


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงแนะนำการลงทุนธุรกิจวัสดุก่อสร้างในเบื้องต้นสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในรูปแบบจำหน่ายสินค้าหรือส่งออก มากกว่าเข้าไปลงทุนผลิตเพื่อจำหน่าย ซึ่งเริ่มต้นจากหาพันธมิตรทั้งก่อนและระหว่างช่วงเวลาที่เข้าไปประกอบธุรกิจ เพื่อเพิ่มความสะดวกและความคล่องตัวมากขึ้น โดยรูปแบบการลงทุนนั้น ผู้ประกอบการ SMEsควรประเมินความสามารถในการลงทุนของตน ซึ่งขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและผลตอบแทน 


สำหรับผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างอาจจะเข้าไปซื้อโรงงานผลิตวัสดุก่อสร้างต่อจากผู้ผลิตท้องถิ่นรายเก่าและหาผู้ร่วมทุนเป็นคนท้องถิ่น เพื่อลดความเสี่ยงจากกฎระเบียบการลงทุนของชาวต่างชาติ ทั้งนี้กลุ่มผลิตภัณฑ์เหล็กเป็นกลุ่มสินค้าที่มีการนำเข้ามากกว่าวัสดุก่อ สร้างกลุ่มอื่น ผู้ประกอบการ SMEs จึงน่าจะลงทุนผลิตสินค้ากลุ่มเหล็ก เช่น เหล็กดัดประตู-หน้าต่าง รั้ว-ประตู ตะปู และโครงหลังคา เป็นต้น

 

 

สำหรับการบุกตลาดวัสดุก่อสร้างในสปป.ลาวของผู้ประกอบการ SMEs

 

ระยะแรก ควรเริ่มต้นลงทุนรูปแบบที่มีความเสี่ยงต่ำก่อน จากนั้นจึงหาลู่ทางสร้างพันธมิตรและกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ก่อนตัดสินใจเปิดร้านจำหน่ายด้วยตนเอง ซึ่งเมื่อพิจารณาโครงการสำคัญๆที่กำลังก่อสร้างและมีแผนก่อสร้างในอีก 3-4 ปีข้างหน้านี้ ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวบริเวณในเมือง คือ เวียงจันทน์ ไซยะบุรีและปากเซ 

 

ผู้จำหน่ายวัสดุก่อสร้างบริเวณชายแดนไทย-สปป.ลาว น่าจะเป็นกลุ่มที่ได้เปรียบทางด้านความชำนาญพื้นที่ และมีข้อมูลความต้อง การซื้อขายสินค้าวัสดุก่อสร้าง ส่วนทางด้านช่องทางการจำหน่าย สามารถส่งสินค้าผ่านจุดผ่านแดนไทย-สปป.ลาว ซึ่งมีทั้งด่านการค้าระดับสากล 14แห่ง และด่านผ่อนปรน อีก 30 แห่ง รวมถึง ด่านชั่วคราวและช่องทางท้องถิ่น แต่ด่านที่เหมาะสมสำหรับขนส่งสินค้าวัสดุก่อสร้างมากที่สุดคือ สะพานมิตรภาพไทย-ลาวที่จังหวัดหนองคาย เข้าสู่เวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเมืองที่เป็นจุดศูนย์กลางทางการค้าของประเทศ ส่วนด่านที่น่าสนใจที่ไม่ควรมองข้ามคือ ด่านช่องเม็ก ที่จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องด้วยด่านนี้ใกล้กับแขวงปากเซ และเชื่อมโยงกับแขวงอัตตะปือของสปป.ลาว ซึ่งภายใน 3-4 ปีข้างหน้า มีโครงการก่อสร้างสำคัญ คือ การขยายสนามบินปากเซ และสนามบินอัตตะปือ รวมถึงการก่อสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า Xe Pian Xe Nam Noy และXe Kong ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความต้องการวัสดุก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ชายแดนอุบลราชธานีจะได้เปรียบระยะทางการขนส่งสินค้า 

 

ไม่ว่าจะเริ่มต้นลงทุนในรูปแบบใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดในการลงทุนในสปป.ลาว คือ ควรมีพันธมิตรทางธุรกิจเป็นผู้ประกอบการในท้องถิ่น เนื่องจากจะรู้ความต้องการและพฤติกรรมการใช้วัสดุก่อสร้างของผู้บริโภคในท้องถิ่น ตลอดจนกำลังซื้อ กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ช่องทางการจัดจำหน่าย และทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องลงพื้นที่ศึกษาตลาดในพื้นที่เป้าหมายโดยละเอียด เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างและพฤติกรรมของตลาด ซึ่งจะช่วยให้สามารถประเมินความเป็นไปได้ทางธุรกิจ และกำหนดแผนการและรูปแบบการลงทุนที่สอดคล้องกับความสามารถทาง ธุรกิจทุกด้านของตน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน การบริหารจัดการ และการตลาด 

 

วิเคราะห์ SWOTs การลงทุนวัสดุก่อสร้างในสปป.ลาว สำหรับผู้ประกอบการ SMEs

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของผู้ประกอบการวัสดุก่อ สร้าง รวมถึงโอกาส และอุปสรรคที่ต้องเผชิญในการบุกตลาด สปป.ลาว ดังนี้ 

 

จุดแข็ง (Strengths)

จุดอ่อน (Weaknesses)

วัสดุก่อสร้างไทยมีคุณภาพดี เมื่อเทียบกับคู่แข่งใน สปป.ลาว และยังเป็นประเทศคู่ค้ามานาน

ราคาวัสดุก่อสร้างไทยสูงกว่าคู่แข่ง เมื่อเทียบกับ สินค้าประเภทเดียวกันกับของประเทศคู่แข่ง เช่น เหล็กจากจีน

สินค้าไทยเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในสปป.ลาว

ผู้ประกอบการไทย อาจมีแหล่งเงินทุนไม่มาก เมื่อเทียบกับคู่แข่งขันต่างชาติ

ไทยมีชายแดนติดกับสปป.ลาวหลายจุด ทำให้ง่าย ต่อการขนส่งสินค้าข้ามชายแดนไทย

โอกาส (Opportunities)

อุปสรรค (Threats)

สปป.ลาว กำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก และพัฒนาเมือง ซึ่งทำให้มีความต้องการวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น

การขนส่งสินค้าส่วนมากต้องผ่านทางถนน ซึ่งยังมีสภาพไม่ดีนัก ทำให้เกิดความล่าช้าและสินค้าอาจเสียหายขณะเดินทาง เช่น กระเบื้อง

การรวมกลุ่มเป็น AEC ทำให้หลายประเทศสนใจเข้า ไปลงทุน รวมถึงด้านโครงสร้างพื้นฐาน ดังนั้น ระยะยาว จึงเพิ่มความสะดวกแก่นักลงทุนไทย เมื่อสปป.ลาว พัฒนาเต็มที่แล้ว

สินค้าไทยมักถูกลอกเลียนแบบจากประเทศเพื่อนบ้าน

ค่าแรงงานที่สปป.ลาวต่ำกว่าไทย ทำให้ลดต้นทุน

การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของตลาดยังทำได้ยาก ดังนั้นจึงควรมีพันธมิตรอยู่ในสปป.ลาว เพื่อการเข้าถึงข้อมูล

สปป.ลาว มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งทรัพยากร ธรรมชาติ บวกกับสภาพภูมิประเทศมีภูเขาครอบคลุมอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเหมาะสำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตวัสดุก่อสร้าง (ปูน และหินคลุก)

สินค้าบางประเภทมีผู้ผลิตท้องถิ่นแล้ว ซึ่งมักจะมีการกีดกันการค้าที่มิใช่ราคา ทำให้ผู้ประกอบการต้องศึกษาให้มาก


Source: KResearch


บทสรุป และข้อเสนอแนะการลงทุนวัสดุก่อสร้างในสปป.ลาว

 

เป็นประเทศที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตวัสดุก่อสร้าง เหล็ก และปูนซีเมนต์ แต่ด้วยข้อจำกัดของระบบสาธารณูปโภค ความไม่แน่นอนของกฎระเบียบทางการค้าและการลงทุน และค่อนข้างยึดถือนโยบายอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ การลงทุนตั้งโรงงานผลิตวัสดุก่อสร้างจึงต้องทำการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยว ข้องต่างๆ อย่างรอบคอบรัดกุม ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการ SMEs ของไทยเองก็อาจไม่มีศักยภาพมากพอที่จะลงทุนในขั้นตอนการผลิต ดังนั้น รูปแบบธุรกิจที่น่าจะเหมาะสมสำหรับ SMEs คือ การจำหน่ายสินค้าผ่านชายแดน หรือร่วมทุนกับนักลงทุนท้องถิ่น กรณีที่มีช่องทางเปิดร้านจำหน่ายสินค้าวัสดุก่อสร้างในพื้นที่ที่กำลังมี ความต้องการวัสดุก่อสร้างสูง

 

 

วัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่ที่ไทยส่งออกไปยังสปป.ลาว คือ ปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์เหล็ก เพื่อใช้ในการก่อสร้างโครงการต่างๆของภาครัฐและเอกชน จึงเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าวัสดุก่อสร้างทั้งสองกลุ่มนี้ 

ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าตลอดทั้งปี 2555 และ2556มูลค่าส่งออกปูนซีเมนต์ และผลิตภัณฑ์เหล็กอาจเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9 และ 15ต่อปี คิดเป็นมูลค่า 1,350 และ 6,100 ล้านบาท ในปี 2555 ส่วนในปี 2556 คิดเป็นมูลค่า1,470 และ 7,050 ล้านบาท ตามลำดับ 

 

     

สิ่งสำคัญที่สุดในการเริ่มต้นธุรกิจที่สปป.ลาวคือ การสร้างพันธมิตรในท้องถิ่น เพื่อร่วมมือเจาะตลาดและหาช่องทางการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างใน สปป.ลาว ซึ่งแหล่งจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่สำคัญจะอยู่ตามเมืองหลักที่มีโครงการก่อ สร้างเกิดขึ้นจำนวนมาก เช่น เวียงจันทน์ ปากเซ สะหวันนะเขต และอัตตะปือ 

แหล่งที่มาของข้อมูล

สถิติมูลค่าการส่งออก-นำเข้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 2555

Trade Map, 2012

The 22nd Survey of Investment Related Costs in Asia and Oceania, JETRO, 2012 


ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

แหล่งที่มา : http://siamindustry.blogspot.com

ศูนย์รวม สีโจตัน ศูนย์รวม สีชูโกกุ ศูนย์รวม สีทีโอเอ ศูนย์รวม สีตราพัด   You are visitor no. 13,587,509  จำนวนผู้เข้าชม : 6
E-commerce Solutions by BangkokDomain.com   ®